ธุรกิจออนไลน์นั้น เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยการทำธุรกรรมส่วนใหญ่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักหรือติดต่อกันมาก่อน ทำให้ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่างๆ โดยมีปัจจัยสนับสนุนได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบในเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดี เพื่อรองรับการขยายตัวของ E-Commerce รวมถึงกฎหมายรองรับข้อมูล หรือหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร พร้อมทั้งระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน
ความสำคัญของ E-Commerce
แนวโน้มการใช้งาน E-Commerce ในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก อันเนื่องมาจากการที่ธุรกิจ E-Commerce สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างและรวดเร็ว รวมถึงเวลาในการทำธุรกิจที่ไม่มีวันหยุด ทำให้การทำธุรกิจ E-Commerce เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วนั่นเอง
การชำระเงินบน E-Commerce
จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ธุรกิจกับผู้บริโภค ร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต สำหรับในประเทศไทย ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer ทำให้ภาครัฐจึงได้เข้ามามีบทบาทเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต โดยได้มีการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการชำระเงินดังนี้
1.บริการ internet banking หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway
จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
2. สำหรับการชำระเงินในส่วนที่เป็น Micro Payment
การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ทการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิต และบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม
ด้านความปลอดภัยกับ E-Commerce
ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่ง และผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจง จึงทำให้สามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รวมทั้งรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งจะปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) หรือที่เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ที่หลายๆ ประเทศในยุโรป และประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็มีการเร่งออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง
สำหรับท่านที่สนใจ การสร้างธุรกิจออนไลน์ หรือการโฆษณาประเภทต่างๆ บนโลกออนไลน์ สามารถขอคำปรึกษาหรือติดตามอ่านความรู้ดีๆ ได้ฟรีได้เลยค่ะ
บริการแนะนำ
เว็บไซต์ บริษัท องค์กร คลินิก ร้านค้า
เว็บไซต์สำเร็จรูป ตอบโจทย์การทำธุรกิจออนไลน์
เว็บไซต์สำเร็จรูปสำหรับธุรกิจ SME (พร้อมใช้งานภายใน 1 วัน)
Google My Business - ปักหมุดธุรกิจของคุณบน Google Maps