กลยุทธ์การตลาด 8P ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด 8P ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจ
กลยุทธ์การตลาด 8P ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจ
กลยุทธ์การตลาด 8P ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาดคืออะไร ? มีไว้เพื่ออะไร? กลยุทธ์ทางการตลาดเป็นการวางแผนงาน อันทรงประสิทธิภาพอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจ การวางแผนที่ดียังสามารถทำให้สินค้า หรือแบรนด์ เติบโตได้อย่างมีแบบแผน ไม่หลงไปตามสภาวะเศรษฐกิจ หรือความกดดันจากคู่แข่ง และยังทำให้สินค้า หรือแบรนด์นั้นๆ มีความชัดเจน ว่าตัวสินค้าของเราเป็นสินค้ากลุ่มใด ลูกค้าเป้าหมายคือใคร เมื่อตำแหน่งในตลาดชัดเจนแล้ว ย่อมทำให้การกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ทำออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามไปด้วย 8P คือ กลยุทธ์การตลาด ที่ปรับปรุง และพัฒนาต่อจาก 4P เพื่อบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จด้วยการวางแผนที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ที่มีการแข่งขันกันสูง กลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจออนไลน์ สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว  

iGITAL GEEK ขอพาท่านมาทำความความรู้จักกับ กลยุทธ์การตลาด 8P

  เพื่อให้นักธุรกิจออนไลน์ หรือคนที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์ ได้ลองเลือกกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เมื่อนำมาใช้แล้วสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน   กลยุทธ์การตลาด  

กลยุทธ์ที่เป็นปัจจัยหลัก 8P ประกอบด้วย

1.ผลิตภัณฑ์ (Product)

ธุรกิจมีองค์ประกอบหลักซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างแรก คือ ผลิตภัณฑ์สินค้า (Goods) สำหรับในส่วนสินค้านั้นแบ่งออกเป็น สินค้าประเภทจับต้องได้ และสินค้าประเภทจับต้องไม่ได้ สำหรับการบริการนั้นแบ่งออกเป็น บริการแบบมีส่วนร่วม และการบริการแบบไม่มีส่วนร่วม ดังนั้นสินค้า และบริการจึงนับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง โดยต้องมีคุณลักษณะสำคัญ คือ คุณภาพ (Quality) สำหรับในส่วนของคุณภาพนั้นยังมีความหมายรวมถึง ด้านความเหมาะสมในการใช้งาน คุณภาพการออกแบบ และคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อีกด้วย นอกจากนั้นคุณภาพยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญถึงภาพลักษณ์ของธุรกิจ  

2.ราคา (Price)

การกำหนดราคานับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ โดยมักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของตัวธุรกิจ ประเภทของสินค้าที่ต้องการจำหน่าย ค่าใช้จ่ายต่างๆ สิ่งแวดล้อมทางการตลาด กฎหมาย ความเปลี่ยนแปลกของราคาวัตถุดิบ หรือแม้กระทั่งระบบการจัดจำหน่าย ต้นทุนการผลิต และการส่งเสริมการขาย เป็นต้น สำหรับธุรกิจขนาดเล็กนั้น การกำหนดราคาขายของสินค้านั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากราคานั้น เป็นสิ่งที่ใช้วัดค่า และประโยชน์ของตัวสินค้า และยังเป็นตัวกำหนดว่าเราจะสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในทิศทางใด จะสามารถขายสินค้าอย่างไร จำนวนเท่าไหร่ ราคาขายจะเป็นเครื่องบ่งชี้ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจนั้นๆ  เนื่องจากกำไรจะคำนวณจาก รายรับหักลบด้วยต้นทุน โดยรายรับจะมาจากปริมานจำนวนที่ขายคูณด้วยราคาต่อหน่วย อีกหนึ่งกลยุทธ์การขายสินค้าที่นิยมนำมาใช้กัน อย่างแพร่หลาย ได้แก่ การให้ส่วนลด (Discount) การขายเงินเชื่อ (Credit) และการฝากขาย (Consignment) รวมทั้งยังมีการใช้นโยบายการตั้งราคาอีกด้วย โดย นโยบายการตั้งราคาแบ่งออกเป็น นโยบายราคาเพียงราคาเดียว (One Price Policy) เป็นการเสนอขายสินค้า หรือบริการในราคามาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะซื้อมากหรือน้อยก็ตาม เช่น ราคาน้ำมัน ค่าขนส่งสินค้า คำตามน้ำหนัก หรือธุรกิจขายสินค้าราคาเดียวทั้งร้าน (ทุกอย่าง 20 บาท) นโยบายราคาที่แตกต่างกัน (Variable Price Policy) มีเหตุมากจากความแตกต่างในด้านคุณลักษณะเฉพาะของสินค้าหรือตัวบริการ และการเจรจาต่อรองของลูกค้า นั่นจึงเป็นเหตุให้มีการต้นราคาขายแตกต่างกัน เช่น สินค้าที่มีคุณภาพดีกว่าจะมีราคาที่สูงกว่า สินค้าที่คุณภาพรองลงมา เช่น ราคาตั๋วชมภาพยนตร์ที่นั่งธรรมดา กับที่นั่งพิเศษ เสื้อผ้าแบรนด์ดังกับเสื้อผ้าไม่มีแบรนด์ นโยบายกำหนดราคาขายแบบแพ็กเกจ (Multiple Unit Package Pricing Policy) เป็นการกำหนดราคาขายโดยเปรียบเทียบความแตกต่างในด้านปริมาณสินค้าที่ซื้อ อธิบายง่ายๆ คือถ้าซื้อในจำนวนมากราคาจะถูกกว่าซื้อในจำนวนน้อย เช่น เครื่องดื่ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สินค้าประเภทอุปโภคบริโภค นโยบายกำหนดราคาตามสายราคา (Price Lining-Policy) เป็นรูปแบบการกำหนดราคาสินค้า แบบต่อเนื่องตามขนาด และปริมานของสิ้นค้า โดยแบ่งตามขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก้พนักงานขาย และตัวลูกค้าเอง เช่น นำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน นโยบายกำหนดราคาเชิงจิตวิทยา (Psychological-Pricing Policy) ธุรกิจอาจจะใช้วิธีการกำหนดราคาให้น่าสนใจ โดยอาศัยหลักจิตวิทยาซึ่งเชื่อว่ามีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้า หรือผู้บริโภค เช่น สินค้าที่มีราคาลงท้ายเหมือนกัน 59, 89, 99 หรือสินค้าที่มีป้ายกำกับ เช่นสินค้าขายดี นโยบายกำหนดราคาจามจำนวน (Unit Pricing-Policy) เป็นรูปแบบการต้นราคาให้แตกต่าง โดยอ้างอิงจากน้ำหนักของสินค้าต่อหน่วยเป็นเกณฑ์ เช่น ซื้อสินค้าที่มีน้ำหนักที่แตกต่างกัน 100 ,50 และ 30 กรัม ตัวสินค้าจะมีราคาไม่เท่ากัน  

3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)

การนำสินค้าไปให้ถึงมือของลูกค้า โดยยึดหลักความมีประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความปลอดภัย และความรวดเร็ว วิธีการที่สามารถทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุด คือจะต้องกระจายสินค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด หากเป็นสินค้าที่ขายไปหลายๆ แห่ง วิธีการกระจายสินค้านั้นจะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหลักการของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่มีขายให้มากสถานที่ จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเสมอ แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่า สินค้าของท่านคืออะไร และกลุ่มเป้าหมายท่านคือใคร  

4.การส่งเสริมการขาย (Promotion)

ความสำเร็จทางด้านธุรกิจ คือ การขายสินค้า หรือบริการให้ได้มากที่สุด แต่ปัญหาคือต้องทำอย่างไร จึงจะทำให้ กิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ มากที่สุด การส่งเสริมการขายนั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนกลับคืนอย่างคุ้มค่าที่สุด ซึ่งมีอยู่หลายวิธีที่ทั้งทางตรง และทางอ้อม การโฆษณา (Advertsing) อาจจะใช้คำพูด หรือข้อความ ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อต่อสินค้า หรือบริการนั้นๆ  รวมทั้งจูงใจให้เกิดความต้องการอยากทดลองใช้สินค้า หรือบริการของเรา การขายโดยตรง (Direct Sales) เป็นการขายโดยเข้าไปติดต่อถึงตัวลูกค้าโดยตรง โดยการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ของสินค้าให้ลูกค้าได้ทราบ หรือที่เรียกว่าการเสนอขาย โดยอาศัยเทคนิค และวิธีการที่น่าสนใจ การส่งเสริมการขายทางด้านลูกค้า (Consumer Promotion) เป็นรูปแบบในการสร้างสิ่งดึงดูดใจให้กับตัวลูกค้าโดยตรง เช่น การลด แลก แจก แถม หรือการเล่นเกมเพื่อชิงรางวัล เป็นการกระตุ้นให้ลุกค้าเกิดความสนใจ และมีความหวังในประโยชน์ที่ได้รับจากตัวสินค้า หรือบริการของเรา การบริการ (Service) เป็นรูปแบบการให้บริการทั้งก่อน และหลังการขาย  ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายคุณลักษณะที่ดี และการใช้สินค้าก่อนลูกค้าจะทำการซื้อ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจ  การบริการขณะขาย เช่น การสาธิตให้ลูกค้าได้ชมก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า หรือ อาจจะเป็นการให้ลูกค้าทดลองด้วยตัวเองก่อน  และบริการหลังการขายสินค้าให้กับลูกค้า เช่นการซ่อมบำรุง หรือตรวจสอบสินค้าเมื่อลูกค้าได้ซื้อไปแล้วโดยทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความประทับใจระยะยาว แม้ในบางธุรกิจอาจจะไม่สามารถปรับเปลี่ยน ทั้ง 4P ได้หมดในระยะเวลาอันสั้นได้  แต่เราสามารถปรับกลยุทธ์ทีละส่วน จนได้ส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสมที่สุดได้  

5.บุคลากร  (People)

ในธุรกิจประเภทบริการนั้น ลูกค้าจะมีส่วนร่วมในระหว่างการใช้บริการ ทำให้พนักงานจำเป็นต้องมีการปฏิสัมพันธ์ลูกค้า ซึ่งค่อนข้างจะต่างจากการขายสินค้า (Product) ที่ จะไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต และการบริหารมากกว่า   แต่ธุรกิจประเภทบริการ (Service) ต้องพบปะกับลูกค้าโดยตรง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมถึงต้องให้ความสำคัญกับ คน(People) นั่นเอง ส่วนกลยุทธ์เกี่ยวกับ คน (People) ในธุรกิจมีดังนี้ การฝึกอบรม การฝึกสอนเพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถในการให้บริการแก่พนักงาน รวมถึงการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีในบริการลูกค้าด้วย การรับมือกับจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการเยอะเกินไปควรมีมาตรการรองรับอย่างไร หรือกรณีที่ลูกค้ามาใช้บริการน้อย ควรแก้ไขอย่างไร  

6.บรรจุภัณฑ์ (Packaging Strategy)

หลักสำคัญของกลยุทธ์ด้านบรรจุภัณฑ์ คือการออกแบบให้สวยงาม และโดดเด่นกว่าผลิตภัณฑ์ ของคู่แข่งเมื่อนำไปวางขาย ส่วนในด้านของร้านค้าออนไลน์กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์นั้น จะรวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยของสินค้าในส่วนของการจัดส่งรวมอยู่ด้วย เพราะการส่งสินค้าในระยะทางไกลนั้นอาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรจัดการห่อสินค้าให้ดีเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความประทับใจ และทำให้ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อร้านค้าออนไลน์ของเรา  

7.การให้ข่าวสาร (Public Strategy)

การให้ข้อมูลข่าวสารเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญ และเหมาะกับยุคสมัยนี้ที่สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างไร้พรมแดน ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ การให้ข่าวสาร โดยการโพสประกาศ รวมไปถึงการฝากขายสินค้า ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  

8.กลยุทธ์ด้านอำนาจการต่อรอง (Power Strategy)

ตัวอย่างเช่นการใช้อำนาจในการต่อรองเพื่อสร้างเครือข่าย โดยคนที่ต้องการสั่งซื้อสินค้าจากเราไปจำหน่ายต้องสมัครเป็นตัวแทนเท่านั้น เพื่อที่จะได้สั่งซื้อสินค้าในราคาขายส่ง หรือต้องสมัครเข้ากลุ่มตามประเภทของสินค้าในไลน์เพื่อนำรูปภาพของสินค้าแต่ละประเภทที่มีการอัพเดททุกวันไปโพสขาย ในกรณีนี้เป็นการขายส่งสินค้า ส่วนการขายปลีกให้กับลูกค้าทั่วๆ ไปหน้าเว็บเพจรูปแบบการใช้กลยุทธ์พลังอาจมีการกำหนดราคาขายที่แตกต่างกัน เช่น สั่งซื้อสินค้าครบ 3 รายการคิดราคาพิเศษเป็นการต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์  ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ร้านค้าออนไลน์มียอดขายเพิ่มขึ้นส่วนของลูกค้าได้สินค้าในราคาที่ถูกลงเป็นต้น   กลยุทธ์การตลาด   กล่าวโดยสรุป 8P คือ อีกหนึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีการต่อยอดมาจาก 4P นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อธุรกิจบริการในปัจจุบันได้มากขึ้น สำหรับท่านที่สนใจ บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 4P สามารถอ่านต่อได้จากลิ๊งค์ ด้านล่างนี้  1.ผลิตภัณฑ์ (Product) >> การสำรวจตลาด ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์ ตอนที่ 1 2.ราคา (Price) >> ธุรกิจออนไลน์ การสำรวจตลาดก่อนเริ่มต้นธุรกิจ ตอนที่ 2 3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) >> เริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ การสำรวจตลาดก่อนเริ่มต้นธุรกิจ ตอนที่ 3 4.การส่งเสริมการขาย (Promotion) >> การสำรวจตลาดก่อนเริ่มต้นธุรกิจ ตอนที่ 4 Promotion 5.กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ 4E  >>> การตลาดแบบ 4P (Marketing Mix) คืออะไร 6.กลยุทธ์ 4Cs (Consumer-Cost-Communication-Convenience) >>> ความแตกต่างระหว่าง 4P กับ 4C (Marketing Model) 7. กลยุทธ์ 7P คืออะไร  >>> เกี่ยวข้องอย่างไรกับ  4P ? สำหรับท่านที่สนใจการทำธุรกิจออนไลน์ หรือสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จบนโลกออนไลน์  สามารถติดตามสาระความรู้ดี ๆ จากเราได้ที่นี่เลยค่ะ